เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 1. อัคคัปปสาทสูตร
[ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) 4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) 6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

เรากล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ 8 ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เสื่อมใสในสิ่งที่เลิศ] 1
3. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่
อริยบุคคล 4 คู่ คือ 8 บุคคล2 พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้
เสื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ 3 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ

เชิงอรรถ :
1 ข้อความนี้ ดู ขุ.อิติ.อ. 90/325 ประกอบ
2 ดู อภิ.ปุ. (แปล) 36/207/229

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :462 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 2. ชีวกสูตร
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ อันเป็นที่คลายความกำหนัด
และเป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อัคคัปปสาทสูตรที่ 1 จบ

2. ชีวกสูตร
ว่าด้วยชีวิตของผู้ทุศีล
[91] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้ เป็นการกระทำ
ที่ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า “เจ้าคนนี้อุ้มบาตร
เที่ยวขอชาวโลกเลี้ยงชีพ”
กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุ จึงเข้ามาใช้ชีวิต
เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง
มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่มุ่งจะยึดเป็นอาชีพ แท้จริง กุลบุตร
เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า “พวกเราต่างถูกความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ ความตรอมใจ ทับถมครอบงำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :463 }