เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกให้เป็นกัลยาณมิตร
และคบหาท่านเหล่านั้น1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
เทวทัตตสูตรที่ 10 จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. วิตักกสูตร 2. สักการสูตร
3. เทวสัททสูตร 4. ปัญจปุพพนิมิตตสูตร
5. พหุชนหิตสูตร 6. อสุภานุปัสสีสูตร
7. ธัมมานุธัมมปฏิปันนสูตร 8. อันธกรณสูตร
9. อันตรามลสูตร 10. เทวทัตตสูตร


เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 7/350/211

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :460 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 5. ปัญจมวรรค 1. อัคคัปปสาทสูตร
5. ปัญจมวรรค
หมวดที่ 5
1. อัคคัปปสาทสูตร1
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
[90] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ 3 ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ 3 ประการ คือ
1. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า และมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคล
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศ
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
2. ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด
วิราคะ(ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความ
กระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความ
คลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่า
ธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่ง
ที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/34/53-55, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/32/49-51

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :461 }