เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 8. อันธกรณสูตร
2. อัพยาบาทวิตก ไม่ทำความมืดมน ทำให้เกิดปัญญาจักษุ ทำให้เกิด
ความรู้ ทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นไปเพื่อ
นิพพาน
3. อวิหิงสาวิตก ไม่ทำความมืดมน ทำให้เกิดปัญญาจักษุ ทำให้เกิด
ความรู้ ทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นไปเพื่อ
นิพพาน
กุศลวิตก 3 ประการนี้แล ไม่ทำความมืดมน ทำให้เกิดปัญญาจักษุ ทำให้เกิด
ความรู้ ทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เป็นไปเพื่อนิพพาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ควรตรึกถึงกุศลวิตก 3 ประการ
และควรขจัดอกุศลวิตก 3 ประการออก
ภิกษุนั้นย่อมทำมิจฉาวิตกและมิจฉาวิจารให้สงบลงได้พลัน
เหมือนฝนตกทำฝุ่นธุลีที่ฟุ้งขึ้นให้สงบหายได้ ฉะนั้น
ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรนั้น มีใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหมด
ย่อมบรรลุสันติบท1ได้ในอัตภาพนี้แน่นอน
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อันธกรณสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 หน้า 20 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :455 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 9. อันตรามลสูตร
9. อันตรามลสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นมลทินภายใน
[88] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน
เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. โลภะเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
2. โทสะเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
3. โมหะเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน
เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :456 }