เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 4. ปัญจปุพพนิมิตตสูตร
ศรัทธาของเทพบุตรนั้นแล ตั้งมั่น มีเหตุเกิด หยั่งลง มั่นคง อันสมณพราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่สามารถทำให้คลอนแคลนไปได้ นี้ชื่อว่า
เป็นการดำรงตนอยู่ด้วยดีของเทวดา”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้
เมื่อเทพบุตรจะจุติจากเทวโลก เพราะสิ้นอายุ
เทวดาผู้พลอยยินดี ย่อมเปล่งเสียงอวยพร 3 ประการ คือ
ท่านผู้เจริญ ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้ว
ขอให้ไปเกิดในภูมิที่ดี คืออยู่ร่วมกับมนุษย์เถิด
ท่านเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ขอให้ได้มีศรัทธาอย่างสูงยิ่ง
ในพระสัทธรรมเถิด
ศรัทธาของท่านนั้นขอให้ตั้งมั่น มีเหตุเกิด
หยั่งลง มั่นคงในสัทธรรม
ที่ตถาคตประกาศไว้ดีแล้ว
ใคร ๆ ทำให้คลอนแคลนไม่ได้ตลอดชีวิตเถิด
ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตได้ทั้งหมด
รวมทั้งละกรรมชั่วที่ประกอบด้วยโทษอื่น ๆ
จงทำความดีทางกาย วาจาให้มาก
และทำความดีทางใจที่ประมาณมิได้ ปราศจากอุปธิ
นอกจากนั้น ท่านจงทำบุญ
ที่ให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยการให้ทาน
ชักชวนผู้อื่นให้ดำรงอยู่ในสัทธรรม
ในพุทธศาสนาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :448 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 4. จตุตถวรรค 5. พหุชนหิตสูตร
เมื่อเทวดารู้แน่ว่า เทพบุตรกำลังจะจุติ
ย่อมพลอยยินดีด้วยการอนุเคราะห์กล่าวชวนดังนี้ว่า
ท่านเทพบุตร ท่านจงหวนกลับมาเกิด
ในเทวโลกนี้บ่อย ๆ เถิด
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ปัญจปุพพนิมิตตสูตรที่ 4 จบ

5. พหุชนหิตสูตร
ว่าด้วยบุคคลเกื้อกูลชาวโลก
[84] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก1 ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บุคคล 3 จำพวก คือ
1. พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์

เชิงอรรถ :
1 โลก มี 3 คือ (1) สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ (2) สังขารโลก โลกคือสังขาร (ขันธ์ 5) (3) โอกาสโลก
โลกคือแผ่นดิน ในที่นี้หมายถึงสัตวโลก (ขุ.อิติ.อ. 84/296)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :449 }