เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 4. ปุปผวรรค 9. อานันทเถรวัตถุ
7. ฉัตตปาณิอุปาสกวัตถุ
เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้)
[51] วาจาสุภาษิต1 ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม2
เหมือนดอกไม้งาม มีสีสวย (แต่) ไม่มีกลิ่น
[52] วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี
เหมือนดอกไม้งาม มีทั้งสีและมีกลิ่น ฉะนั้น3

8. วิสาขาวัตถุ
เรื่องนางวิสาขา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[53] สัตว์ผู้มีอันจะต้องตาย เมื่อเกิดมาแล้ว ควรสร้างกุศลไว้ให้มาก
เหมือนช่างดอกไม้ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมากจากกองดอกไม้ ฉะนั้น

9. อานันทเถรวัตถุ
เรื่องพระอานนทเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้)
[54] กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา

เชิงอรรถ :
1 วาจาสุภาษิต ในที่นี้หมายถึงพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก (ขุ.ธ.อ. 2/42)
2 ผู้ไม่ทำตาม หมายถึงบุคคลผู้ไม่ตั้งใจประพฤติตามพระพุทธพจน์โดยเอื้อเฟื้อ กล่าวคือไม่ตั้งใจฟัง ทรงจำ
และนำมาปฏิบัติ ผลจึงไม่เกิดแก่ผู้นั้น (ขุ.ธ.อ. 3/42)
3 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/323-324/393

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :43 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 4. ปุปผวรรค 11. โคธิกเถรวัตถุ
หรือกลิ่นกระลำพักก็ลอยไปทวนลมไม่ได้
ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ลอยไปทวนลมได้
เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ1
[55] กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นหอมเหล่านี้ คือ
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกอุบล และกลิ่นดอกมะลิ

10. มหากัสสปเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัสสปเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[56] กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นจันทน์นี้ หอมเพียงเล็กน้อย
แต่กลิ่นของท่านผู้มีศีล หอมมากที่สุด
หอมฟุ้งไปทั่วทั้งเทวโลกและมนุษยโลก

11. โคธิกเถรวัตถุ
เรื่องพระโคธิกเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[57] มารย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นปกติ
ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

เชิงอรรถ :
1 สัตบุรุษย่อมมีกลิ่นเกียรติคุณคือศีลแผ่ขจรไปทั่วทุกทิศ (ขุ.ธ.อ. 3/76) และดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/
80/305

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :44 }