เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 8. ทุติยอาสวสูตร
8. ทุติยอาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ สูตรที่ 2
[57] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ 3 ประการนี้
อาสวะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามาสวะ 2. ภวาสวะ 3. อวิชชาสวะ
ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ 3 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้สิ้นกามาสวะ และภวาสวะ
สำรอกอวิชชาได้แล้ว มีจิตหลุดพ้น
เป็นผู้หาอุปธิมิได้ พิชิตมารพร้อมทั้งเสนามารได้แล้ว
ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายสุดท้าย
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทุติยอาสวสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 9. ตัณหาสูตร
9. ตัณหาสูตร1
ว่าด้วยตัณหา
[58] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา 3 ประการนี้
ตัณหา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามตัณหา2
2. ภวตัณหา3
3. วิภวตัณหา4
ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา 3 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนทั้งหลายผู้เกี่ยวข้องด้วยโยคะคือตัณหา
มีจิตยินดีในภพน้อยและภพใหญ่5
เป็นผู้ติดข้องด้วยโยคะคือบ่วงมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. 11/305/194, สํ.สฬา. (แปล) 18/323/342, องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/106/627, อภิ.วิ.
(แปล) 35/916-917, 918/573-574
2 กามตัณหา หมายถึงความมีจิตกำหนัดนักในกาม (ขุ.อิติ.อ.58/227)
3 ภวตัณหา หมายถึงความมีจิตกำหนัดนักในภวทิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ.58/227)
4 วิภวตัณหา หมายถึงความมีจิตกำหนัดนักในอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ.58/227)
5 ในที่นี้ ภพน้อย หมายถึงสัสสตทิฏฐิ หรือภวตัณหา ภพใหญ่ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ หรือวิภวตัณหา (ขุ.อิติ.อ.
58/227)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :412 }