เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 3. ปฐมเวทนาสูตร
3. ปฐมเวทนาสูตร1
ว่าด้วยเวทนา สูตรที่ 1
[52] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉย ๆ จะสุขก็ไม่ใช่ จะทุกข์ก็ไม่ใช่)
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น
มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
ย่อมรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดเวทนา นิพพานอันเป็นที่ดับเวทนา
และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับเวทนา
เพราะสิ้นเวทนาทั้งหลาย
ภิกษุจึงเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ปฐมเวทนาสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/249/270

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :405 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [3. ติกนิบาต] 1. ปฐมวรรค 4. ทุติยเวทนาสูตร
4. ทุติยเวทนาสูตร1
ว่าด้วยเวทนา สูตรที่ 2
[53] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา 2. ทุกขเวทนา 3. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์2 พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดุจลูกศร
พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดย
ความเป็นดุจลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยงได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นอริยะ มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดุจลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความไม่เที่ยง

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/253/273
2 ทุกข์ หมายถึงวิปริณามทุกข์ (ทุกข์คือ ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป) (ขุ.อิติ.อ.53/220)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :406 }