เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 5. สุกกธัมมสูตร
5. สุกกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว
[42] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม1 2 ประการนี้ ย่อมคุ้มครองโลก
สุกกธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. หิริ2 2. โอตตัปปะ3
ถ้าสุกกธรรม 2 ประการนี้ไม่คุ้มครองโลก ในมนุษยโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏ4ให้รู้ว่า
หญิงนี้เป็นมารดา หญิงนี้เป็นน้า หญิงนี้เป็นป้า หญิงนี้เป็นภรรยาของอาจารย์หรือ
หญิงนี้เป็นภรรยาของครู มนุษยโลกก็จะประพฤติสำส่อนกันไปหมด เหมือนอย่าง
พวกแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข และสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สุกกธรรม 2 ประการนี้ยังคุ้มครองโลกอยู่
ฉะนั้นจึงยังปรากฏให้รู้ว่า หญิงนี้เป็นมารดา หญิงนี้เป็นน้า หญิงนี้เป็นป้า หญิงนี้
เป็นภรรยาของอาจารย์ หรือหญิงนี้เป็นภรรยาของครู”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 สุกกธรรม หมายถึงกุศลธรรม คือธรรมที่เป็นฝ่ายขาว หรือ ธรรมบริสุทธิ์ (ขุ.อิติ.อ. 42/179)
2 หิริ หมายถึงความละอายต่ออกุศลธรรม (ขุ.อิติ.อ. 42/179)
3 โอตตัปปะ หมายถึงความกลัวต่ออกุศลธรรม (ขุ.อิติ.อ. 42/179)
4 ไม่ปรากฏ หมายถึงไม่ปรากฏความเคารพยำเกรงต่อกัน (ขุ.อิติ.อ. 42/182)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :390 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 6. อชาตสูตร
หากสัตว์เหล่าใดไม่มีหิริโอตตัปปะในกาลทุกเมื่อ
สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าปราศจากสุกกธรรม
เป็นผู้เข้าถึงชาติและมรณะ
ส่วนสัตว์เหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้โดยชอบ
สัตว์เหล่านั้นมีพรหมจรรย์งอกงาม สงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
สุกกธรรมสูตรที่ 5 จบ

6. อชาตสูตร
ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่เกิด
[43] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ อันปัจจัยไม่
ปรุงแต่ง มีอยู่จริง ภิกษุทั้งหลาย หากธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ
อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จะไม่มีอยู่จริงไซร้ ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะที่สลัดออกจาก
ธรรมชาติที่เกิด ที่ปรากฏ อันปัจจัยทำ อันปัจจัยปรุงแต่งได้เลย ภิกษุทั้งหลาย
ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ อันปัจจัยไม่ทำ อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีอยู่จริง
ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะที่สลัดออกจากธรรมชาติที่เกิด ที่ปรากฏ อันปัจจัยทำ
อันปัจจัยปรุงแต่ง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/1082/515

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :391 }