เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 1. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความมีสังเวคธรรม1ในฐานะที่ควรมีสังเวคธรรม2
2. ความเพียรโดยแยบคายแห่งบุคคลผู้มีสังเวคธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 2 ประการนี้แล ย่อมอยู่อย่างมี
ความสุขโสมนัสมากในปัจจุบัน และย่อมเริ่มประกอบความเพียรโดยแยบคาย เพื่อ
ความสิ้นอาสวะ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีความเพียร
มีปัญญารักษาตน พิจารณาเห็นชอบด้วยปัญญา
ควรมีสังเวคธรรมในฐานะที่ควรมีสังเวคธรรมทีเดียว
ภิกษุผู้มีความเพียร มีความประพฤติสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
หมั่นประกอบอุบายเป็นเครื่องสงบใจอยู่อย่างนี้
พึงถึงความสิ้นทุกข์
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
โสมนัสสสูตรที่ 10 จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ทุกขวิหารสูตร 2. สุขวิหารสูตร
3. ตปนียสูตร 4. อตปนียสูตร
5. ปฐมสีลสูตร 6. ทุติยสีลสูตร
7. อาตาปีสูตร 8. ปฐมนกุหนสูตร
9. ทุติยนกุหนสูตร 10. โสมนัสสสูตร


เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 หน้า 76 ในเล่มนี้
2 ฐานะที่ควรมีสังเวคธรรม หมายถึงชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ในอบาย วัฏฏมูลกทุกข์ อาหารปริเยฏฐิมูลกทุกข์
(ขุ.อิติ.อ. 37/131)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [2. ทุกนิบาต] 2. ทุติยวรรค 1. วิตักกสูตร
2. ทุติยวรรค
หมวดที่ 2
1. วิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก
[38] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย วิตก 2 ประการ คือ เขมวิตก1 และวิเวกวิตก2 ย่อมแผ่ซ่าน
ไปยังตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก ตถาคตพอใจความไม่เบียดเบียน
ยินดีความไม่เบียดเบียน วิตกนั่นแลแผ่ซ่านไปยังตถาคตผู้พอใจความไม่เบียดเบียน
ยินดีในความไม่เบียดเบียนเป็นอันมากว่า “เราจะไม่เบียดเบียนสัตว์ใด ๆ ทั้งที่ยังมีจิต
หวาดสะดุ้งหรือมีจิตมั่นคงด้วยการทำนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพอใจความสงัด ยินดีความสงัด วิตกนั่นแลแผ่ซ่านไปยัง
ตถาคตผู้พอใจความสงัด ยินดีความสงัดเป็นอันมากว่า ‘สิ่งใดเป็นอกุศล สิ่งนั้นเรา
ละได้แล้ว’ เพราะเหตุดังกล่าวนั้น แม้เธอทั้งหลายก็จงพอใจความไม่เบียดเบียน
ยินดีความไม่เบียดเบียนอยู่เถิด เธอทั้งหลายซึ่งพอใจความไม่เบียดเบียน ยินดีความ
ไม่เบียดเบียนอยู่ วิตกนี้นั้นแลจะแผ่ซ่านไปเป็นอันมากว่า “เราทั้งหลายจะไม่
เบียดเบียนสัตว์ใด ๆ ทั้งที่ยังมีจิตหวาดสะดุ้งหรือมีจิตมั่นคงด้วยการทำนี้”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพอใจความสงัด ยินดีความสงัดอยู่เถิด เมื่อเธอ
ทั้งหลายซึ่งพอใจความสงัด ยินดีความสงัด วิตกนี้นั้นแลจะแผ่ซ่านไปเป็นอันมากว่า
“อะไรคืออกุศล อกุศลอะไรที่เราทั้งหลายยังละไม่ได้ เราทั้งหลายจะละอกุศลอะไร”

เชิงอรรถ :
1 เขมวิตก หมายถึงความตรึกที่ประกอบด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา หรือหมายถึงอพยาบาทวิตก และ
อวิหิงสาวิตก (ขุ.อิติ.อ. 38/164-168)
2 วิเวกวิตก หมายถึงความตรึกที่ประกอบด้วยผลสมาบัติ หรือความตรึกที่ประกอบด้วยวิเวก 3 ประการ คือ
กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก และประกอบด้วยวิเวก 5 ประการ คือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก
ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก (ขุ.อิติ.อ. 38/164)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :385 }