เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [1. เอกกนิบาต] 3. ตติยวรรค 4. อัฏฐิปุญชสูตร
ธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
ถือเอาประโยชน์ทั้งสองได้ คือ ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ในการทำบุญทั้งหลาย
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชน เราเรียกว่า บัณฑิต
เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า1
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อุภยัตถสูตรที่ 3 จบ

4. อัฏฐิปุญชสูตร
ว่าด้วยร่างกระดูก
[24] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลคนหนึ่งพึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปตลอดกัป โครงกระดูก
ร่างกระดูก กองกระดูก ถ้ามีคนรวบรวมเก็บไว้ และไม่สูญหายไป ก็จะเป็นกอง
กระดูกใหญ่โตเท่าภูเขาเวปุลละนี้แน่นอน”

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) 15/128/152

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :368 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [1. เอกกนิบาต] 3. ตติยวรรค 5. มุสาวาทสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
กองกระดูกของคนคนหนึ่ง ตลอดกัปหนึ่ง
จะเป็นกองกระดูกเสมอเท่าภูเขา
ภูเขาเวปุลละนี้นั้น เป็นภูเขากว้างใหญ่
ตั้งอยู่ทางเหนือภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ของชาวมคธ
เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นอริยสัจ 4 คือ
ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ 8
ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้น บุคคลนั้นแล่นไปแล้วอีก 7 ชาติเป็นอย่างยิ่ง
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
อัฏฐิปุญชสูตรที่ 4 จบ

5. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
[25] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่งแล้ว เราขอบอกว่า
บาปกรรมอะไร ๆ อย่างอื่นที่เขาจะไม่ทำนั้นย่อมไม่มี
ธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ สัมปชานมุสาวาท (การกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่)”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :369 }