เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [7. จูฬวรรค] 1. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร
7. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
1. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ 1
[61] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระ
ลกุณฏกภัททิยะ1เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ2 จิตของ
ท่านพระลกุณฏกภัททิยะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น3
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏก-
ภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ จิตของท่านพระลกุณฏกภัททิยะ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 เดิมชื่อ ภัททิยะ แต่เพราะท่านมีร่างกายเตี้ย คนจึงเรียกท่านว่า “ลกุณฏกภัททิยะ” นัยว่า ก่อนที่ท่านจะ
ได้ฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตรนั้น ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (ขุ.อุ.อ. 61/386)
2 โดยวิธีต่าง ๆ หมายถึงโดยเหตุมากมายอย่างนี้ คือ ให้พิจารณาเห็นว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. 61/387)
3 หมายถึงทำให้แจ้งอรหัตตผล (ขุ.อุ.อ. 61/387)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :309 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [7. จูฬวรรค] 2. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
พุทธอุทาน
บุคคลหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ1
ไม่หลงเข้าใจว่า นี้เป็นของเรา นี้เป็นตัวเรา
มีจิตหลุดพ้นได้เด็ดขาดอย่างนี้
ชื่อว่าข้ามพ้นโอฆะ2 ที่ตนยังไม่เคยข้ามได้
ไม่ต้องมีภพใหม่อีก
ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตรที่ 1 จบ

2. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ 2
[62] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระ
ลกุณฏกภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ ยิ่งกว่าประมาณ
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้สำคัญท่านพระลกุณฏก-
ภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้

เชิงอรรถ :
1 ชั้นสูง หมายถึงรูปธาตุ และอรูปธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้นเบื้องปลายหมายถึง
ละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการได้ ชั้นต่ำ หมายถึงกามธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้น
เบื้องปลายหมายถึงละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้ (ขุ.อุ.อ. 61/387)
2 โอฆะ หมายถึงห้วงน้ำคือสังสารวัฏมี 4 คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.อุ.อ. 61/387)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :310 }