เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 2. สัตตชฏิลสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคนั้นทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน
มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้ และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง
ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ ฉะนั้น
อายุสังขาโรสสัชชนสูตรที่ 1 จบ

2. สัตตชฏิลสูตร1
ว่าด้วยนักบวชพวกละ 7 คน
[52] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในปุพพารามของนาง
วิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่หลีกเร้น ประทับนั่งอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น ชฎิล 7 คน นิครนถ์ 7 คน อเจลก 7 คน เอกสาฎก 7 คน
และปริพาชก 7 คนผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไป
ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) 15/122/141-143

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :284 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [6. ชัจจันธวรรค] 2. สัตตชฏิลสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นชฎิล 7 คน นิครนถ์ 7 คน อเจลก
7 คน เอกสาฎก 7 คน และปริพาชก 7 คนผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว
ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไปไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค จึงเสด็จลุกจากที่
ประทับนั่ง ทรงห่มพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา
ลงที่พื้นดิน ทรงประคองอัญชลีไปทางนักบวชเหล่านั้น แล้วทรงประกาศพระนาม
3 ครั้งว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือ
พระราชาปเสนทิโกศล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล”
ลำดับนั้น เมื่อนักบวชเหล่านั้นจากไปไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้นคงเป็น
พระอรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นแน่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
ครอบครองเรือนบรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ใช้สอยพระภูษาและเครื่อง
สำอางจากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ทรงยินดีเงินและทอง
ยากที่จะทรงรู้ได้ว่า ‘คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค’
มหาบพิตร ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ความสะอาด1 พึงรู้ได้ด้วยการเจรจา2 และความสะอาดนั้นแล
พึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่

เชิงอรรถ :
1 ความสะอาด หมายถึงวาจาสะอาด (ขุ.อุ.อ. 52/356)
2 การเจรจา แปลจากบาลีว่า “สํโวหาเรน” ซึ่งมีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (1) หมายถึงพาณิชกรรม
(การค้าขาย) (ดู สุตตนิบาต ข้อ 620 หน้า 648) (2) หมายถึงเจตนา (ดู ที.ปา. 11/313/206) หมายถึง
บัญญัติ (ดู อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1313/330) หมายถึงการเจรจา (ดู สํ.ส. (แปล) 15/25/29) ในที่นี้หมายถึง
การเจรจา (ขุ.อุ.อ. 52/356, สํ.ส.อ. 1/122/143)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :285 }