เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 1. ยมกวรรค 10. จูนทสูกริกวัตถุ
9. นันทเถรวัตถุ
เรื่องพระนันทเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[13] ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรม1ได้ ฉันนั้น
[14] ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น2

10. จุนทสูกริกวัตถุ
เรื่องนายจุนทะฆ่าสุกร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[15] ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเศร้าโศกในโลกหน้า
ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นกรรมที่เศร้าหมองของตน

เชิงอรรถ :
1 จิตที่ไม่ได้อบรม หมายถึงจิตที่ไม่ได้อบรมด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ในคาถานี้หาใช่หมายเอา
เฉพาะราคะเท่านั้นไม่ที่รั่วรดจิต แต่ยังหมายเอากิเลสทั้งปวง มีโทสะ และโมหะ เป็นต้นด้วย (ขุ.ธ.อ.
1/109)
2 ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/133-134/350

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :28 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 1. ยมกวรรค 13. สุมนาเทวีวัตถุ
11. ธัมมิกอุปาสกวัตถุ
เรื่องอุบาสกผู้ประพฤติธรรม
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[16] ผู้ทำบุญไว้ ย่อมบันเทิงใจในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังบันเทิงใจในโลกหน้า
ชื่อว่าบันเทิงใจในโลกทั้งสอง
เขาย่อมบันเทิงรื่นเริงใจเพราะเห็นกรรมที่บริสุทธิ์ของตน

12. เทวทัตตวัตถุ
เรื่องพระเทวทัต
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[17] ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเดือดร้อนในโลกหน้า
ชื่อว่าเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเดือดร้อนใจว่า “เราได้ทำบาปไว้แล้ว”
ครั้นไปสู่ทุคติ เขายิ่งเดือดร้อนมากขึ้น

13. สุมนาเทวีวัตถุ
เรื่องนางสุมนาเทวี
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภนางสุมนาเทวีธิดาคนเล็กของเศรษฐีซึ่งเสียชีวิตจึง
ตรัสพระคาถานี้แก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดังนี้)
[18] ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินใจในโลกนี้
ตายไปแล้วก็ยังเพลิดเพลินใจในโลกหน้า
ชื่อว่าเพลิดเพลินใจในโลกทั้งสอง
เขาย่อมเพลิดเพลินใจว่า “เราได้ทำบุญไว้แล้ว”
ครั้นไปสู่สุคติ เขายิ่งเพลิดเพลินใจมากขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :29 }