เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [5. โสณเถรวรรค] 6. โสณสูตร
ที่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมคือ 10 รูปได้ยากลำบาก เวลาล่วงไปถึง 3 ปี1 จึงให้
ท่านโสณะอุปสมบทได้
สมัยนั้น ท่านพระโสณะออกพรรษาแล้ว หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิด
คำนึงอย่างนี้ว่า “เราไม่เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย
เพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’
ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต เราจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
ครั้งนั้นในเวลาเย็น ท่านพระโสณะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหา-
กัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
เราไม่เคยเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย เพียงแต่ได้ยินว่า
‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ ถ้าพระอุปัชฌาย์
อนุญาต กระผมจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ โสณะ ท่านจงไปเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ท่านจะเห็นพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นผู้น่าเลื่อมใส ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส2 มีพระอินทรีย์สงบ
มีพระทัยสงบ ทรงบรรลุทมถะและสมถะ3สูงสุด ทรงฝึกฝนแล้ว คุ้มครองแล้ว

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงเวลาผ่านไป 3 พรรษา นับจากวันที่บรรพชาเป็นสามเณร (วิ.อ. 3/257/170)
2 น่าเลื่อมใส หมายถึงมีพระรูปกายถึงพร้อมด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระ เพราะประดับด้วยมหาปุริส-
ลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 ประการ และพระเกตุมาลามีพระรัศมีแผ่ออกข้างละวา เป็น
ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส หมายถึงทรงถึงพร้อมด้วยกองธรรม เช่น พลญาณ 10 เวสารัชชญาณ 4
อสาธารณญาณ 6 และพุทธธรรมเฉพาะอย่าง 18 ประการ (ดู ที.ปา.อ. 3/305/188-189) (ขุ.อ.อ.
10/90, สารตฺถ.ฏีกา 3/257/363)
3 ทมถะ หมายถึงปัญญาบ้าง ความสงบกายบ้าง สมถะ หมายถึงสมาธิบ้าง ความสงบจิตบ้าง (วิ.อ.
3/257/170) อีกนัยหนึ่ง ทมถะ หมายถึงโลกุตตรปัญญาวิมุตติ สมถะ หมายถึงโลกุตตรเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :271 }