เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 9. อุปเสนสูตร
พุทธอุทาน
คนทั้งหลายผู้ไม่สำรวม ชอบกล่าวทิ่มแทงผู้อื่นด้วยวาจา
เหมือนทหารข้าศึกทิ่มแทงช้างที่ออกศึกด้วยลูกศร ฉะนั้น
ภิกษุผู้มีจิตไม่คิดประทุษร้าย ฟังคำหยาบคาย
ที่คนพาลกล่าวแล้ว พึงอดกลั้นไว้ได้
สุนทรีสูตรที่ 8 จบ

9. อุปเสนสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนวังคันตบุตร
[39] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เรามีเพื่อนพรหมจารีล้วนแต่มีศีล
มีกัลยาณธรรม เราบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว เรามีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีอารมณ์
เป็นหนึ่ง เป็นพระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ชีวิตของเรา
ชื่อว่ามีความเจริญ ความตายของเราก็ชื่อว่าเป็นความตายดี”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบความคิดคำนึงของท่านพระอุปเสน-
วังคันตบุตรด้วยพระทัยแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :250 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 10. สารีปุตตอุปสมสูตร
พุทธอุทาน
บุคคลผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่โดยไม่เดือดร้อน
ในเวลาจวนจะตายก็ไม่เศร้าโศก
ชื่อว่าพบนิพพานแล้ว เป็นปราชญ์
แม้จะอยู่ท่ามกลางคนที่เศร้าโศก ก็ไม่เศร้าโศก
ภิกษุผู้ตัดภวตัณหา1ได้เด็ดขาด
มีจิตสงบ มีชาติสงสาร2สิ้นแล้ว
เธอย่อมไม่มีภพใหม่
อุปเสนสูตรที่ 9 จบ

10. สารีปุตตอุปสมสูตร
ว่าด้วยการระงับกิเลสของพระสารีบุตรเถระ
[40] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
พิจารณาถึงการระงับกิเลสลงได้หมดสิ้นของตน อยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง พิจารณาถึงการระงับกิเลสได้หมดสิ้นของตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 ภวตัณหา หมายถึงความกำหนัดแห่งจิตที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ (อภิ.วิ. (แปล) 35/916/573)
2 ชาติสงสาร ในที่นี้หมายถึงความเกิด (ขุ.อุ.อ. 39/289)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :251 }