เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 5. โกสัมพิกวัตถุ
[4] ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกเวรว่า
“คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป”
เวรของชนหล่านั้น ย่อมสงบระงับ

4. กาลียักขินีวัตถุ
เรื่องนางยักษ์ชื่อกาลี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางยักษ์ชื่อกาลีและหญิงคนหนึ่ง ดังนี้)
[5] เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร1
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร2
นี้เป็นธรรมเก่า3

5. โกสัมพิกวัตถุ
เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้ทะเลาะกัน ดังนี้)
[6] ชนเหล่าอื่น4ไม่รู้ชัดว่า “พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้”
ส่วนชนเหล่าใด5ในหมู่นั้น รู้ชัด
ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 เวรนั้นนอกจากจะไม่สงบระงับแล้วยังกลับเพิ่มพูนเวรต่อกันให้มากขึ้น เปรียบเหมือนการใช้น้ำสกปรก
ชำระล้างสิ่งสกปรกก็ยิ่งเพิ่มพูนความสกปรกมากขึ้นฉะนั้น (ขุ.ธ.อ. 1/45)
2 การไม่จองเวร หมายถึงธรรมคือขันติ(ความอดทน) เมตตา(ความรัก) โยนิโสมนิการ(การพิจารณาโดย
แยบคาย) และปัจจเวกขณะ(การพิจารณา) (ขุ.ธ.อ. 1/45)
3 เป็นธรรมเก่า หมายถึงเป็นทางปฏิบัติเพื่อสงบระงับเวรที่ประพฤติสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า พระ
ปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. 1/45)
4 ชนเหล่าอื่น หมายถึงคนที่สร้างความแตกแยกในหมู่ (ขุ.ธ.อ. 1/58)
5 ชนเหล่าใด หมายถึงบัณฑิต (ขุ.ธ.อ. 1/58/)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :25 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 1. ยมกวรรค 7. เทวทัตตวัตถุ
6. มหากาลเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[7] มาร1ย่อมครอบงำบุคคลผู้พิจารณาเห็นความงาม2
ไม่สำรวมอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน
เหมือนพายุพัดต้นไม้ที่ไม่มั่นคงให้หักโค่นลงได้ ฉะนั้น
[8] มารย่อมไม่ครอบงำบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นความงาม
สำรวมอินทรีย์ดีแล้ว รู้จักประมาณในการบริโภค
มีศรัทธา และปรารภความเพียร
เหมือนพายุพัดโค่นภูเขาศิลาไม่ได้ ฉะนั้น

7. เทวทัตตวัตถุ
เรื่องพระเทวทัต
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตที่ได้ผ้ากาสาวะมีราคามากจากแคว้น
คันธาระ จึงตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองราชคฤห์ ดังนี้)
[9] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด3
ปราศจากทมะและสัจจะ4

เชิงอรรถ :
1 มาร ในที่นี้หมายถึงกิเลสมาร (ขุ.ธ.อ. 1/66)
2 พิจารณาเห็นความงาม ในที่นี้หมายถึงอยู่อย่างปล่อยใจไปในอิฏฐารมณ์ เช่น ยึดถือว่าเล็บงาม นิ้วงาม
เท้างาม เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. 1/65)
3 กิเลสดุจน้ำฝาด หมายถึงกิเลสดุจน้ำย้อม ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ
(ความหลง) มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ความตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความ
ตระหนี่) มายา (มารยา) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)
อติมานะ (ความดูหมิ่น) มทะ (ความัวเมา) ปมาทะ (ความประมาท) อกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง กรรมนำ
สัตว์ไปเกิดในภพทั้งปวง และกิเลสพันห้า (ขุ.ธ.อ. 1/71, ขุ.ชา.อ. 3/141/199)
4 ในที่นี้ ทมะ หมายถึงการฝึกอินทรีย์ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ (ขุ.ธ.อ. 1/72)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :26 }