เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 1. เมฆิยสูตร
เมฆิยะ ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ
ที่ยังไม่แก่กล้า
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่งที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา
สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภความ
เพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา
คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม 5 ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม 4 ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปอีก คือ
1. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ
2. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :235 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 1. เมฆิยสูตร
3. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
4. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ1
เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา
ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน2
วิตกที่หยาบ3และวิตกที่ละเอียด4
เป็นไปแล้ว ทำใจให้ฟุ้งซ่าน
บุคคลผู้มีจิตสับสน ไม่รู้วิตกแห่งใจเหล่านี้
ย่อมแล่นไปสู่ภพน้อยภพใหญ่
ส่วนผู้ที่เพียรระวัง มีสติอยู่เสมอ
รู้เท่าทันวิตกที่เกิดแก่จิตเหล่านี้ ย่อมสำรวมระวัง
บุคคลผู้ตรัสรู้แล้วเท่านั้น
ย่อมละวิตกที่เป็นไปแล้วทำใจให้ฟุ้งซ่านได้โดยไม่เหลือ
เมฆิยสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 อัสมิมานะ หมายถึงมานะ 9 ประการ (องฺ.นวก.อ. 3/1/286) และดู องฺ.นวก. (แปล) 23/1/428, ขุ.ม.
(แปล) 29/178/508, อภิ.สงฺ. (แปล) 34/1239/314, อภิ.วิ. (แปล) 35/832/536 ประกอบ
2 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงโทษแห่งการไม่บรรเทา และอานิสงส์แห่งการบรรเทากามวิตก เป็นต้น (ขุ.อุ.อ.
31/252)
3 วิตกที่หยาบ หมายถึงอกุศลวิตก มี 3 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก (ขุ.อุ.อ. 31/252)
4 วิตกที่ละเอียด หมายถึงญาติวิตก(ความตรึกถึงญาติ) ชนปทวิตก(ความตรึกถึงชนบท) อมราวิตก(ความ
ตรึกถึงเทพเจ้า) เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. 31/252)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :236 }