เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 1. เมฆิยสูตร
ที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญ
เพียรในป่ามะม่วงนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะ
พึงว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น อาศัยป่ามะม่วงนั้นนั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วง
ต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก 3 ประการ คือ กามวิตก
(ความตรึกในทางกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก
(ความตรึกในทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นโดยมาก
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป
อกุศลวิตก 3 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
ครั้งนั้น ในเวลาเย็น ท่านพระเมฆิยะก็ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์
พักอยู่ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก 3 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก เกิดขึ้นโดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้น ก็ยังถูก
บาปอกุศลวิตก 3 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ 1 ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :233 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [4. เมฆิยวรรค] 1. เมฆิยสูตร
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ 2
ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง1 ที่เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างเดียว
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพี่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา(เรื่อง
ความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง
ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความ
เห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
นี้เป็นธรรมประการที่ 3 ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่
ยังไม่แก่กล้า
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ 4 ที่เป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก
กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ 5 ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/90/160-161, องฺ.ทสก. (แปล) 24/69/152, ขุ.ม. (แปล) 29/85/257-258

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :234 }