เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 8. ปิณฑปาติกสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุม
พร้อมกันในกเรริมณฑป ได้สนทนาอันตรากถาขึ้นว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เมื่อกำลังบิณฑบาต ย่อมได้เห็นรูปที่น่าพอใจทางตาตาม
กาลอันควร ย่อมได้ฟังเสียงที่น่าพอใจทางหูตามกาลอันควร ย่อมได้ดมกลิ่นที่น่า
พอใจทางจมูกตามกาลอันควร ย่อมได้ลิ้มรสที่น่าพอใจทางลิ้นตามกาลอันควร ย่อมได้
ถูกต้องผัสสะที่น่าพอใจทางกายตามกาลอันควร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้บิณฑบาต
เป็นวัตร เป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมขณะเที่ยวไปบิณฑบาต
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอพวกเราจงเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเถิด แม้พวกเราก็จัก
ได้เห็นรูปที่น่าพอใจทางตาตามกาลอันควร จักได้ฟังเสียงที่น่าพอใจทางหูตามกาล
อันควร จักได้ดมกลิ่นที่น่าพอใจทางจมูกตามกาลอันควร จักได้ลิ้มรสที่น่าพอใจทาง
ลิ้นตามกาลอันควร จักได้ถูกต้องผัสสะที่น่าพอใจทางกายตามกาลอันควร พวกเรา
เป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมขณะเที่ยวไปบิณฑบาต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันตรากถานี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายพูดค้างไว้ พอดีพระผู้มี
พระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรมีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วพากันสนทนาเรื่องอย่างนี้นั้น ไม่สมควรเลย
เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันแล้วควรทำกิจเพียง 2 อย่าง คือ การกล่าวธรรม หรือ
ความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :225 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 9. สิปปสูตร
พุทธอุทาน
เทวดาทั้งหลายย่อมเคารพรักภิกษุ
ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตน ไม่เลี้ยงคนอื่น
ผู้คงที่ หากภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญ1
ปิณฑปาติกสูตรที่ 8 จบ

9. สิปปสูตร
ว่าด้วยการสนทนาเรื่องศิลปะ
[29] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉัน
อาหารเสร็จแล้ว มานั่งประชุมพร้อมกันในมณฑป ได้สนทนาอันตรากถาขึ้นว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครรู้จักศิลปะบ้าง ใครศึกษาศิลปะอะไรมาบ้าง ศิลปะชนิด
ไหนเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย”
บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยช้างเลิศกว่าศิลปะ
ทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยม้าเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวก
กล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยรถเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะ
ว่าด้วยธนูเลิศกว่าศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยอาวุธ2เลิศกว่า
ศิลปะทั้งหลาย” บางพวกกล่าวว่า “ศิลปะว่าด้วยการคำนวณด้วยวิธีนับนิ้วเลิศกว่า

เชิงอรรถ :
1 ไม่อาศัยเสียงสรรเสริญ หมายถึงไม่ต้องการเสียงสรรเสริญ หรือการยกย่องจากคนอื่นว่า พระคุณเจ้ารูปนี้
มีความมักน้อย สันโดษ มีความประพฤติขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง (ขุ.อุ.อ. 28/215)
2 แปลจากคำว่า “ถรุสิปฺปํ” หมายถึงอาวุธอื่น ๆ จากธนู (ขุ.อุ.อ. 29/216)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :226 }