เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 2. นันทสูตร
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำ1เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ จึงเป็นอันว่า ท่าน
พระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเกิดพระญาณรู้ว่า “นันทะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระนันทะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อได้นางอัปสรผู้มีสีเท้า
เหมือนสีเท้านกพิราบ 500 นาง ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้องพระผู้มีพระภาคจากการ
รับรองนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทะ แม้เราเองก็กำหนดรู้ใจเธอด้วยใจว่า ‘นันทะ
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ‘ข้าแต่พระองค์

เชิงอรรถ :
1 กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ 4 อย่าง คือ ปริญญากิจ หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์ ปหานกิจ หน้าที่ละเหตุ
เกิดทุกข์ สัจฉิกิริยากิจ หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์ ภาวนากิจ หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ 8 ให้เจริญ
เป็นกิจในอริยสัจ 4 (ที.สี.อ. 1/248/203, องฺ.นวก.อ. 3/3/287, ขุ.อุ.อ. 22/184, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/49/141)
2 ดูเชิงอรรถที่ 4 หน้า 6 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :213 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [3. นันทวรรค] 3. ยโสชสูตร
ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค พระโอรสของพระมาตุจฉาทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ นันทะ เราพ้นจากการรับรองนี้ตั้งแต่จิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นนั้นแล้ว”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้1
ย่ำยีหนามคือกามได้
ภิกษุนั้นบรรลุความสิ้นโมหะ2
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์
นันทสูตรที่ 2 จบ

3. ยโสชสูตร
ว่าด้วยพระยโสชเถระ
[23] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุประมาณ 500 รูปมีพระยโสชะเป็น
หัวหน้าเดินทางมาถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นแลกำลังทักทายกับภิกษุเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ จึงได้
ส่งเสียงอื้ออึง

เชิงอรรถ :
1 ดูชื่อของกามใน องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/23/453, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/56/349
2 ความสิ้นโมหะ หมายถึงอรหัตตผลและนิพพาน (ขุ.อุ.อ. 22/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :214 }