เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 10. พาหิยสูตร
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้1ก็
สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง พาหิยะ เธอพึงรักษา
อย่างนี้แล
เมื่อใด เธอเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์
ที่ได้รับรู้ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้น เธอ
ก็จะไม่มี เมื่อใด เธอไม่มี เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น2 เมื่อใด เธอไม่
ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลก
ทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
ลำดับนั้น ด้วยพระธรรมเทศนาย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค จิตของพาหิยะ
ทารุจีริยะจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยะ ทารุจีริยะด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้วก็
เสด็จจากไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน โคแม่ลูกอ่อนได้ขวิดพาหิยะ ทารุจีริยะ
จนล้มลงเสียชีวิต
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เสด็จกลับจาก
บิณฑบาตหลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับ

เชิงอรรถ :
1 อารมณ์ที่ได้รับรู้ แปลจากคำว่า มุตะ หมายถึงอารมณ์ 3 คือ คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส)
โผฏฐัพพารมณ์(การสัมผัส) (อภิ.สงฺ.อ. 966/396)
2 คำว่า “เมื่อใดเธอเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ฯลฯ เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น” นี้ พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงภูมิแห่งพระขีณาสพ มีความหมายดังนี้ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ฯลฯ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์
ก็สักแต่ว่ารู้แจ้งแล้ว ก็จักไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เมื่อไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ก็จักไม่มีความยึดติดด้วย
อำนาจตัณหาว่า “นั่นของเรา” ไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจมานะว่า ‘เราเป็นนั่น’ และไม่มีความยึดติดด้วย
อำนาจทิฏฐิว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
อีกนัยหนึ่ง คำว่า “เธอก็จะไม่มี” เป็นคำแสดงมรรค คำว่า “เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น” เป็นคำแสดงผล
คำว่า “เธอก็จะไม่มีในโลกนี้ เป็นต้น” เป็นคำแสดงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ขุ.อุ.อ. 10/87-88)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :186 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 10. พาหิยสูตร
ภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยะ ทารุจีริยะเสียชีวิตแล้ว จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงช่วยกันยกร่างพาหิยะ
ทารุจีริยะขึ้นวางบนเตียงแล้วนำไปเผา และจงทำสถูปไว้ เพื่อนพรหมจารีของเธอ
ทั้งหลายเสียชีวิตแล้ว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ช่วยกันยกร่างพาหิยะ ทารุจีริยะขึ้นวาง
บนเตียงแล้วนำไปเผา ทำสถูปไว้แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาร่างพาหิยะ ทารุจีริยะและ
ทำสถูปไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า เขามีคติเป็นอย่างไร มีภพเบื้องหน้าเป็นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พาหิยะ ทารุจีริยะเป็นผู้ดำเนินชีวิต
ด้วยปัญญา ดำเนินตามธรรมที่สมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำให้เราลำบาก เพราะเหตุ
แห่งการแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลาย พาหิยะ ทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน1
ในนิพพาน ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม
ไม่มีดวงดาวส่องแสง
ไม่มีดวงอาทิตย์ส่องแสง
ไม่มีดวงจันทร์ส่องแสง และไม่มีความมืด

เชิงอรรถ :
1 พุทธอุทานนี้ พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงทราบว่า พระพาหิยะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ และ
ทรงทราบว่าคติของพระขีณาสพอันปุถุชนรู้ได้ยาก จึงทรงเปล่งแสดงอานุภาพแห่งการปรินิพพาน (ขุ.อุ.อ.
10/102)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :187 }