เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 7. อชกลาปกสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัสสปะ กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ตามทางที่อยู่ของคนจน ที่อยู่ของคนกำพร้า และที่อยู่ของช่างหูก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน1
ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้จักตนดี
ผู้ฝึกฝนตนได้แล้ว ดำรงมั่นอยู่ในสารธรรม2
ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้คายโทษได้แล้ว3
เราเรียกว่า พราหมณ์
มหากัสสปสูตรที่ 6 จบ

7. อชกลาปกสูตร
ว่าด้วยอชกลาปกยักษ์
[7] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อชกลาปกเจดีย์อันเป็นที่อยู่ของยักษ์
ชื่อว่า อชกลาปกะ เขตกรุงปาวา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง
ในความมืดมิดแห่งราตรี และฝนก็โปรยละอองอยู่ ครั้งนั้น อชกลาปกยักษ์ประสงค์
จะให้พระผู้มีพระภาคเกิดความกลัว หวาดหวั่น ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปหา

เชิงอรรถ :
1 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงความเป็นผู้มั่นคงของพระขีณาสพ โดยทรงมุ่งแสดงความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง
เป็นหลัก (ขุ.อุ.อ. 6/64)
2 สารธรรม หมายถึงวิมุตติสาระ (ขุ.อุ.อ. 6/66)
3 คายโทษ หมายถึงคายโทษมีราคะเป็นต้น (ขุ.อุ.อ. 6/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [1. โพธิวรรค] 8. สังคมชิสูตร
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ส่งเสียงร้องโหยหวนขึ้น 3 ครั้ง ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคว่า
“อักกุโล ปักกุโล” แล้วพูดว่า “สมณะ นั่นปีศาจ1ปรากฏแก่ท่าน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

พุทธอุทาน2
เมื่อใด บุคคลถึงฝั่งในธรรมของตน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เมื่อนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่กลัวปีศาจ และเสียงร้องโหยหวนอย่างนี้
อชกลาปกสูตรที่ 7 จบ

8. สังคามชิสูตร
ว่าด้วยพระสังคามชิเถระ
[8] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสังคามชิเดินทางมาถึงกรุงสาวัตถี
โดยลำดับเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค อดีตภรรยาของท่านพระสังคามชิได้ฟังข่าวว่า
“ทราบว่าพระคุณเจ้าสังคามชิถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว” นางจึงอุ้มลูกน้อยไปยัง
พระเชตวัน
สมัยนั้น ท่านพระสังคามชินั่งพักกลางวันอยู่ใต้ต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น อดีต
ภรรยาของท่านพระสังคามชิเข้าไปหาถึงที่พัก ได้กล่าวกับท่านพระสังคามชิ ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
1 ปีศาจ ในที่นี้หมายถึงยักษ์เนรมิตรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว ยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค (ขุ.อุ.อ.
7/71)
2 พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงธรรมานุภาพที่เป็นเหตุให้ไม่ทรงคำนึงถึงการกระทำน่ากลัวใด ๆ (ขุ.อุ.อ. 7/71)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :180 }