เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 25. ภิกขุวรรค 5. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ
3. โกกาลิกวัตถุ
เรื่องพระโกกาลิกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[363] ภิกษุรูปใดสำรวมปาก พูดโดยใช้มันตา1เสมอ
ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงแต่อรรถ2และธรรม3 เท่านั้น
ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ

4. ธัมมารามเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้ยินดีในธรรม
[364] ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี4 ยินดีแล้วในธรรม
พิจารณาใคร่ครวญถึงธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม5

5. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้คบฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุที่เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต ดังนี้)
[365] ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของคนอื่น
เมื่อภิกษุปรารถนาลาภของคนอื่น
ย่อมไม่บรรลุสมาธิ6

เชิงอรรถ :
1 มันตา หมายถึงปัญญา (ขุ.ธ.อ. 8/53)
2 อรรถ หมายถึงเนื้อความแห่งภาษิต (ขุ.ธ.อ. 8/3/53)
3 ธรรม หมายถึงธรรมเทศนา (ขุ.ธ.อ. 8/3/53)
4 ธรรมเป็นที่มายินดี ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ธ.อ. 8/54)
5 สัทธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และโลกุตตรธรรม 9 ประการ (ขุ.ธ.อ. 8/54-55)
และดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/1035/509
6 สมาธิ หมายถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (ขุ.ธ.อ. 8/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :147 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 25. ภิกขุวรรค 7. สัมพหุลภิกขุวัตถุ
[366] ถ้าภิกษุแม้จะมีลาภน้อย แต่ไม่ดูหมิ่นลาภของตน
เทวดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นแล
ว่าเป็นผู้มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน

6. ปัญจัคคทายกพราหมณวัตถุ
เรื่องพราหมณ์ถวายทานอันเลิศ 5 อย่าง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พราหมณ์ และนางพราหมณีผู้ถวายทาน
อันเลิศ 5 อย่าง ดังนี้)
[367] ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าเป็นของเรา โดยประการทั้งปวง
และไม่เศร้าโศก เพราะนามรูปแปรผันไป
ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ1

7. สัมพหุลภิกขุวัตุถุ
เรื่องภิกษุหลายรูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[368] ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพุทธศาสนา
ก็จะพึงบรรลุสันตบท2 อันเป็นที่ระงับสังขารเป็นสุข
[369] ภิกษุ เธอจงวิดเรือ3นี้
เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว
เธอตัดราคะ โทสะได้แล้ว
ต่อจากนั้น ก็จักบรรลุนิพพาน

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบสุตตนิบาต ข้อ 957 หน้า 729 ในเล่มนี้ (บาทคาถาที่ 4 ต่างกัน)
2 สันตบท หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. 8/66)
3 เรือ ในที่นี้หมายถึงอัตภาพ (ขุ.ธ.อ. 8/66)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :148 }