เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 25. ภิกขุวรรค 5. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ
3. โกกาลิกวัตถุ
เรื่องพระโกกาลิกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[363] ภิกษุรูปใดสำรวมปาก พูดโดยใช้มันตา1เสมอ
ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงแต่อรรถ2และธรรม3 เท่านั้น
ภาษิตของภิกษุนั้นไพเราะ

4. ธัมมารามเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้ยินดีในธรรม
[364] ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี4 ยินดีแล้วในธรรม
พิจารณาใคร่ครวญถึงธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม5

5. อัญญตรวิปักขเสวกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้คบฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุที่เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต ดังนี้)
[365] ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของคนอื่น
เมื่อภิกษุปรารถนาลาภของคนอื่น
ย่อมไม่บรรลุสมาธิ6

เชิงอรรถ :
1 มันตา หมายถึงปัญญา (ขุ.ธ.อ. 8/53)
2 อรรถ หมายถึงเนื้อความแห่งภาษิต (ขุ.ธ.อ. 8/3/53)
3 ธรรม หมายถึงธรรมเทศนา (ขุ.ธ.อ. 8/3/53)
4 ธรรมเป็นที่มายินดี ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ธ.อ. 8/54)
5 สัทธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ และโลกุตตรธรรม 9 ประการ (ขุ.ธ.อ. 8/54-55)
และดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) 26/1035/509
6 สมาธิ หมายถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (ขุ.ธ.อ. 8/57)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :147 }