เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 23. นาควรรค 7. สัมพหุลภิกขุวัตถุ
5. สานุสามเณรวัตถุ
เรื่องสานุสามเณร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่สานุสามเณร ดังนี้)
[326] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราจะข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย
เหมือนควาญช้างปราบพยศช้างตกมัน ฉะนั้น1

6. ปาเวรกหัตถิวัตถุ
เรื่องช้างปาเวรกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[327] เธอทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท
จงตามรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม2
เหมือนช้างกุญชรที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น

7. สัมพหุลภิกขุวัตถุ3
เรื่องภิกษุหลายรูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[328] ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกัน เป็นสาธุวิหารี4 เป็นนักปราชญ์

เชิงอรรถ :
1 ขุ.เถร. (แปล) 26/77/331,1133/524
2 หล่ม ในที่นี้หมายถึงกิเลส (ขุ.ธ.อ. 7/140)
3 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 5/464/355, ขุ.ชา. (แปล) 27/17-19/303, ขุ.จู. (แปล) 30/131-132/433-434
4 สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรม 4 รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิต-
นิโรธ 1 (ขุ.จู. (แปล) 30/131/433)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :135 }