เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 22. นิรยวรรค 1. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ
9. เอกวิหาริเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้อยู่รูปเดียว
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[305] ภิกษุพึงยินดีการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว1
ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไปตามลำพัง
ฝึกฝนอยู่ผู้เดียว และยินดีการอยู่ป่า
ปกิณณกวรรคที่ 21 จบ

22. นิรยวรรค
หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ
เรื่องปริพาชิกาชื่อสุนทรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[306] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง
หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า
‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก
คน 2 จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว
ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า2

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว” มิใช่หมายถึงการอยู่ตามลำพัง แต่หมายถึงการอยู่อย่างไม่ละการมนสิการ
กัมมัฏฐาน เมื่อทำได้อย่างนี้ แม้จะอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุพันรูป ก็ชื่อว่า นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว (ขุ.ธ.อ.
7/106)
2 ดู อุทาน ข้อ 38 หน้า 248, อิติวุตตกะ ข้อ 48 หน้า 399, สุตตนิบาต ข้อ 667 หน้า 659 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :128 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 22. นิรยวรรค 4. เขมเสฏฐิปุตตวัตถุ
2. ทุกขปีฬิตสัตตวัตถุ
เรื่องสัตว์ถูกทุกข์เบียดเบียน
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[307] ภิกษุชั่วจำนวนมากมีผ้ากาสาวะพันที่คอ
มีธรรมเลวทราม ไม่สำรวม
ย่อมตกนรกเพราะบาปกรรมทั้งหลาย

3. วัคคุมุทาตีริยภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุอยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
(พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุผู้อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา พูดอวดอุตริมนุสสธรรม
ที่ไม่มีในตนของกันและกันแก่คฤหัสถ์เพื่อปากท้อง จึงตรัสพระคาถาแก่ภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้)
[308] การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิง
ยังดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม
บริโภคอาหารที่ชาวบ้านเขาถวาย1

4. เขมเสฏฐิปุตตวัตถุ
เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นายเขมกะผู้ชอบเป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น
ดังนี้)
[309] นรชนที่ประมาท ชอบเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น
ย่อมถึงฐานะ2 4 ประการ คือ

เชิงอรรถ :
1 ข้อความคาถานี้หมายถึงการที่บุคคลกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนดุจเปลวเพลิงนั้นส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนา
ถึงตาย เพียงชาตินี้เท่านั้น แต่การที่ภิกษุผู้ทุศีลบริโภคข้าวที่ชาวบ้านถวายด้วยศรัทธานั้น ทำให้ตกนรก
หลายร้อยชาติ ดังนั้น การกลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนนั้นจึงดีกว่าการที่ภิกษุผู้ทุศีลบริโภคข้าวชาวบ้าน (ขุ.ธ.อ.
7/112)
2 ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุแห่งทุกข์ (ขุ.ธ.อ. 7/113)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :129 }