เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ 6. รตนสูตร
ท่านเหล่านั้นก็จะไม่ถือกำเนิดในภพที่ 81
นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์
ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี
[10] พระโสดาบันนั้นละธรรม 3 ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรคได้แล้ว
แม้จะมีกิเลสบางอย่างเหลืออยู่2
[11] พระโสดาบันนั้นพ้นแล้วจากอบายทั้งสี่3
และจะไม่ทำอภิฐาน 64
นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์
ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี
[12] ถึงแม้ว่า พระโสดาบันนั้นจะทำบาปกรรม5
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจไปบ้าง
ท่านก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้นไว้
เรากล่าวว่าผู้เห็นบท6แล้ว ไม่อาจทำอย่างนั้นได้
นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์
ด้วยสัจจะนี้ ขอให้มีความสวัสดี

เชิงอรรถ :
1 ไม่ถือกำเนิดในภพที่ 8 หมายถึงไม่เกิดในภพที่ 8 เพราะท่านเหล่านั้นละสังโยชน์ 3 ประการ (สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้แล้ว และจะเวียนเกิดเวียนตายในเทวโลกและมนุษยโลกอย่างมากไม่เกิน
7 ครั้ง แล้วบรรลุอรหัตตผล เพราะนามรูปดับไปในภพที่ 7 นั่นเอง (ขุ.ขุ.อ. 6/163-164)
2 อภิ.ก. 37/278/103
3 อบายทั้งสี่ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญ มี 4 คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
(ขุ.ขุ.อ. 6/165)
4 อภิฐาน 6 หมายถึงฐานะอันหนัก 6 ประการ ได้แก่ (1) ฆ่ามารดา (2) ฆ่าบิดา (3) ฆ่าพระอรหันต์
(4) ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ (5) ทำให้สงฆ์แตกกัน (6) เข้ารีตศาสดาอื่น (ขุ.ขุ.อ. 6/166)
5 บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการต้องอาบัติเบา เช่น ต้องอาบัติเพราะนอนร่วมกับสามเณรเป็นต้น มิได้
หมายถึงอาบัติหนัก (ขุ.ขุ.อ. 6/167) และดู วิ.มหา. (แปล) 2/50/238 ประกอบ
6 บท ในที่นี้หมายถึงทางแห่งนิพพาน (ขุ.ขุ.อ. 6/167)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :12 }