เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 19. ธัมมัฏฐวรรค 4. ลกุณฑกภัททิยเถรวัตถุ
3. เอกุทานขีณาสววัตถุ
เรื่องพระเอกุทานขีณาสพ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก 2 รูป ดังนี้)
[259] บุคคลไม่ชื่อว่าผู้ทรงธรรมเพียงเพราะพูดมาก
ส่วนผู้ใดได้สดับตรับฟังธรรมน้อย
แต่พิจารณาเห็นธรรมด้วยนามกาย
ทั้งไม่ประมาทธรรมนั้น
ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ทรงธรรม

4. ลกุณฏกภัททิยเถรวัตถุ
เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้อยู่ป่า 30 รูป ที่เห็นพระลกุณฑก-
ภัททิยเถระรูปร่างเล็กเหมือนสามเณร ดังนี้)
[260] บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ1เพียงเพราะมีผมหงอก
ผู้ที่แก่แต่วัยเท่านั้น เรียกว่า คนแก่เปล่า
[261] ส่วนผู้มีสัจจะ มีธรรม2
มีอหิงสา สัญญมะ และทมะ3
คายมลทินได้แล้ว เป็นปราชญ์ ชื่อว่า เถระ

เชิงอรรถ :
1 เถระ ในที่นี้หมายถึงผู้มีคุณธรรมที่ทำให้เป็นผู้มั่นคง คือ รู้แจ้งอริยสัจ 4 เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. 7/44)
2 มีสัจจะ หมายถึงรู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการ มีธรรม หมายถึงบรรลุโลกุตตรธรรม 9 ประการ (ขุ.ธ.อ. 7/43)
3 อหิงสา หมายถึงความไม่เบียดเบียน สัญญมะ หมายถึงศีล ทมะ หมายถึงการสำรวมอินทรีย์ (ขุ.ธ.อ.
7/43)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 19. ธัมมัฏฐวรรค 6. หัตถกวัตถุ
5. สัมพหุลภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุหลายรูป
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายที่พูดจาคล่องแคล่ว ดังนี้)
[262] เพราะเหตุเพียงการพูดจาคล่องแคล่ว
หรือเพราะมีผิวพรรณงดงาม
แต่ยังมีความริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด
บุคคลก็หาชื่อว่าคนดีได้ไม่
[263] ส่วนผู้ตัดความริษยาเป็นต้นนี้ได้
ถอนขึ้นทำให้รากขาดแล้ว
คายโทษได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา
จึงจะชื่อว่า คนดี

6. หัตถกวัตถุ
เรื่องหัตถกภิกษุ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระหัตถกะผู้พูดจาเหลาะแหละ ดังนี้)
[264] ผู้ไม่มีวัตร1 พูดจาเหลาะแหละ
แม้มีศีรษะโล้น ก็ไม่ชื่อว่าสมณะ
ผู้เต็มไปด้วยความปรารถนา และความอยากได้
จะเป็นสมณะได้อย่างไร
[265] ส่วนผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ลงได้โดยสิ้นเชิง
และเพราะเหตุที่ระงับบาปทั้งหลายได้นี้เอง
เขาจึงเรียกผู้นั้นว่า สมณะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 หน้า 97 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :114 }