เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 17. โกธวรรค 8. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้คนพูดน้อย เขาก็นินทา
ไม่มีใครเลยในโลกนี้ไม่ถูกนินทา
[228] ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน
ก็ไม่มีใครเลยที่จะถูกนินทาอย่างเดียว
หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว
[229] แต่วิญญูชนพิจารณาทุกวัน ๆ
ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ดำเนินชีวิตหาข้อตำหนิมิได้
ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้มีปัญญาและศีลมั่นคง1
[230] ใครเล่าจะควรตำหนิผู้นั้น
ผู้เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท
ผู้เช่นนั้น แม้เทวดาและมนุษย์ก็ชื่นชม
ถึงพรหมก็สรรเสริญ

8. ฉัพพัคคิยภิกขุวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระฉัพพัคคีย์ ดังนี้)
[231] บุคคลพึงรักษาความกำเริบทางกาย
พึงสำรวมกาย ละกายทุจริตแล้ว
พึงประพฤติกายสุจริต

เชิงอรรถ :
1 ความหมายของคาถานี้ คือ การนินทาหรือสรรเสริญของคนพาล ไม่ถือเป็นประมาณ แต่บัณฑิตผู้ใคร่ครวญแล้ว
รู้เหตุที่ควรติเตียนหรือเหตุที่ควรสรรเสริญ ย่อมเลือกสรรเสริญนักปราชญ์ผู้มีปัญญา และศีลมั่นคง ดำรง
ชีวิตอย่างหาข้อตำหนิมิได้ (ขุ.ธ.อ. 6/174)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :104 }