เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

รัตนะ 7 ประการมากมายนี้ การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรได้ทำ หรือทำ
ตอบแทนแก่มารดาและบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาและบิดามีอุปการะ
มาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดให้มารดาและบิดาผู้ไม่มีศรัทธา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ใน
สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ให้มารดาและบิดาผู้ทุศีล สมาทาน ตั้งมั่น
ดำรงอยู่ในสีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล) ให้มารดาและบิดาผู้ตระหนี่ สมาทาน
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ให้มารดาและบิดาผู้
ไม่มีปัญญา สมาทาน ตั้งมั่น ดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นชื่อว่าอันบุตรได้ทำและทำตอบแทน
แก่มารดาและบิดา (2)

วาทะ 2 อย่าง

[35] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะ1อย่างไร กล่าวถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่า
ไม่ควรทำ”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดมมีวาทะว่าควรทำและมีวาทะว่าไม่ควรทำ
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต ไม่ควรทำบาปอกุศลธรรมหลายอย่าง แต่ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ควรทำกุศลธรรมหลายอย่าง พราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำและมีวาทะ
ว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล”


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 4. สมจิตตวรรค

พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (3)

ทักขิไณยบุคคล 2 จำพวก

[36] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทักขิไณยบุคคล(คนที่ควรแก่ของทำบุญ)ในโลกมีกี่จำพวก และควรให้ทาน
ในเขตไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในโลกมีทักขิไณยบุคคล 2 จำพวก คือ
1. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา)
2. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา)
ในโลกมีทักขิไณยบุคคล 2 จำพวกนี้แล และพึงให้ทานในเขตนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ พระสุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว
ได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ในโลกนี้ พระเสขะและพระอเสขะ
เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่
พระเสขะและพระอเสขะเหล่านั้นเป็นคนตรง
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
นี้เป็นเขต1ของทายกผู้บูชาอยู่
ทานที่ให้ในเขตนี้มีผลมาก (4)