เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

นั้นก็ไม่พึงเห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะเราต้องอาบัติ
ที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็นอกุศล
ทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ ภิกษุนั้นเมื่อไม่พอใจ จึงว่ากล่าวเราผู้มี
วาจาไม่น่าพอใจ เราผู้มีวาจาไม่น่าพอใจถูกภิกษุนั้นว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจ
จึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเราเท่านั้น
เหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ภิกษุนี้แลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าภิกษุนี้ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง
เราก็ไม่พึงเห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ก็เพราะภิกษุนี้ต้อง
อาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ฉะนั้น เราจึงได้เห็นว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ครั้นเห็นแล้วจึงไม่พอใจ เราเมื่อไม่พอใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้
ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจ ภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่น่าพอใจนี้ถูกเราว่ากล่าว จึงไม่พอใจ เมื่อไม่
พอใจจึงบอกแก่ผู้อื่นว่า “ด้วยเหตุนี้ โทษในอธิกรณ์นั้นจึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
เท่านั้นเหมือนในเรื่องสินค้า โทษย่อมครอบงำเฉพาะบุคคลผู้จำต้องเสียภาษี”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดีเป็นอย่างนี้แล
ในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังไม่พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อ
ความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก”
ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี
ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง
เพื่อความร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :68 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

เหตุให้เกิดในทุคติและสุคติ

[16] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร1 ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำ
เสมอ คือประพฤติไม่ชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำ
เสมอ คือประพฤติชอบธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่ง
นัก ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด2โดย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระ
ธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” (6)
[17] ครั้งนั้น พราหมณ์ชานุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล