เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

[12] พละ 2 ประการนี้
พละ 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปฏิสังขานพละ 2. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก1อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่
มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ อนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ 2 ประการนี้แล (3)

พระธรรมเทศนาของพระตถาคต 2 แบบ

[14] ธรรมเทศนาของตถาคต2 2 แบบนี้
ธรรมเทศนาของตถาคต 2 แบบ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์] 2. อธิกรณวรรค

1. ธรรมเทศนาแบบย่อ1 2. ธรรมเทศนาแบบพิสดาร2
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของตถาคต 2 แบบนี้แล (4)

เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ

[15] ในอธิกรณ์ใด3 ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังมิได้พิจารณา
ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ
รุนแรง4 เพื่อความร้ายแรง5 และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด
ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้
ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และ
ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก”
ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “เราแลต้องอาบัติที่
เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็น
อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าเราไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ภิกษุ