เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1. กัมมกรณวรรค 4. อตปนียสูตร

3. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน

[3] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการนี้
ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

1. ทำแต่กายทุจริต 2. ไม่ได้ทำกายสุจริต
1. ทำแต่วจีทุจริต 2. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
1. ทำแต่มโนทุจริต 2. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาเดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายทุจริต ไม่ได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต
ไม่ได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต ไม่ได้ทำมโนสุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการนี้แล

ตปนียสูตรที่ 3 จบ

4. อตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน

[4] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการนี้
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้

1. ทำแต่กายทุจริต 2. ไม่ได้ทำกายสุจริต
1. ทำแต่วจีทุจริต 2. ไม่ได้ทำวจีสุจริต
1. ทำแต่มโนทุจริต 2. ไม่ได้ทำมโนสุจริต

เขาย่อมไม่เดือดร้อนอยู่ว่า “เราทำแต่กายสุจริต ไม่ได้ทำกายทุจริต ทำแต่
วจีสุจริต ไม่ได้ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต ไม่ได้ทำมโนทุจริต”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเดือดร้อน 2 ประการนี้แล

อตปนียสูตรที่ 4 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [3.ตติยปัณณาสก์]
1. กัมมกรณวรรค 5. อุปัญญาตสูตร

5. อุปัญญาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ทรงรู้สัพพัญญุตญาณ

[5] ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรม 2 ประการ
ธรรม 2 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความไม่สันโดษเพียงแค่กุศลธรรมทั้งหลาย
2. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย เราเริ่มตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึง
บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักไม่หยุดความเพียร” สัมโพธิญาณนั้นเราบรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท ธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะที่ยอดเยี่ยม1 เราก็บรรลุได้ด้วยความไม่ประมาท แม้ถ้าเธอ
ทั้งหลายพึงตั้งความเพียรไม่ย่อหย่อนว่า “จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็
ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่
หยุดความเพียร” ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม2อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเริ่มตั้งความ
เพียรไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดใน
สรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความ
เพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

อุปัญญาตสูตรที่ 5 จบ