เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 18. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

[441] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่ (60)
[442] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (61)
[443-452] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ ... เจริญอาโปกสิณ ... เจริญเตโชกสิณ ...
เจริญวาโยกสิณ ... เจริญนีลกสิณ ... เจริญปีตกสิณ ... เจริญโลหิตกสิณ ... เจริญ
โอทาตกสิณ ... เจริญอากาสกสิณ ... เจริญวิญญาณกสิณ ... (62-71)
[453-462] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา ... เจริญมรณสัญญา ... เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญอนิจจสัญญา ... เจริญ
อนิจเจทุกขสัญญา ... เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... เจริญปหานสัญญา ... เจริญวิราคสัญญา
... เจริญนิโรธสัญญา... (72-81)
[463-472] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา ... เจริญอนัตตสัญญา ... เจริญมรณ-
สัญญา ... เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... เจริญ
อัฏฐิกสัญญา ... เจริญปุฬวกสัญญา ... เจริญวินีลกสัญญา ... เจริญวิจฉิททกสัญญา ...
เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... ( 82-91)
[473-482] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ ... เจริญธัมมานุสสติ ...เจริญสังฆานุสสติ
... เจริญสีลานุสสติ ... เจริญจาคานุสสติ ... เจริญเทวตานุสสติ ... เจริญอานาปานสติ
... เจริญมรณัสสติ ... เจริญกายคตาสติ ... เจริญอุปสมานุสสติ ... (92-101)
[483-492] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ... เจริญ
วีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญ
สัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ
... (102-111)
[493-562] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา ...
เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :50 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต 19. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ
ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (112-181)

อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ 18 จบ

19. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ

[563] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป
หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา1ย่อม
เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส
ด้วยใจแล้ว2 แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ
ผู้นั้น (1)
[564-570] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อสังเวชใหญ่3 เพื่อประโยชน์ใหญ่4 เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่5 เพื่อ
สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ6 เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ7 ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก
นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่
เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (2-8)