เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค 5. ปฐมขตสูตร

1. กายกรรมที่สะอาด 2. วจีกรรมที่สะอาด
3. มโนกรรมที่สะอาด
บุคคลประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

อสุจิสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 1

[151] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม 3 ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมฝ่ายอกุศล 2. วจีกรรมฝ่ายอกุศล
3. มโนกรรมฝ่ายอกุศล
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กายกรรมฝ่ายกุศล 2. วจีกรรมฝ่ายกุศล
3. มโนกรรมฝ่ายกุศล
ฯลฯ

ปฐมขตสูตรที่ 5 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
5. มังคลวรรค 8. จตุตถขตสูตร

6. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 2

[152] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ
1. กายกรรมที่มีโทษ 2. วจีกรรมที่มีโทษ
3. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
1 กายกรรมที่ไม่มีโทษ 2. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
3. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ

ทุติยขตสูตรที่ 6 จบ

7. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 3

[153] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ
1. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ 2. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
3. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
1. กายกรรมที่สม่ำเสมอ 2. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
3. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ

ตติยขตสูตรที่ 7 จบ

8. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ 4

[154] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :398 }