เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 1. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อาปายิกสูตร 2. ทุลลภสูตร
3. อัปปเมยยสูตร 4. อาเนญชสูตร
5. วิปัตติสัมปทาสูตร 6. อปัณณกสูตร
7. กัมมันตสูตร 8. ปฐมโสเจยยสูตร
9. ทุติยโสเจยยสูตร 10. โมเนยยสูตร

3. กุสินารวรรค
หมวดว่าด้วยกรุงกุสินารา
1. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา

[124] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าชื่อพลิหรณะ เขต
กรุง กุสินารา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลแห่งใดแห่ง
หนึ่งอยู่ คหบดีหรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุ
เมื่อประสงค์ก็รับนิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้
คหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น ถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉัน
ที่ประณีตด้วยมือตนเอง
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวายอาหาร
ให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” เธอยังมีความคิดอย่างนี้
อีกว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของ
เคี้ยวของฉันที่ประณีตอย่างนี้ด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :370 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 2. ภัณฑนสูตร

มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก(ความตรึกในทาง
พยาบาท)บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราไม่กล่าวว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ประมาทอยู่
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดี
หรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุเมื่อประสงค์ก็รับ
นิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้า
ไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือ
บุตรของคหบดีนั้นถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วย
มือตนเอง
ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวาย
อาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” และเธอไม่มีความ
คิดอย่างนี้ว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอไม่ติดใจ ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง ตรึกถึงอพยาบาทวิตก(ความตรึก
ปลอดจากพยาบาท)บ้าง ตรึกถึงอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
บ้าง ภิกษุทั้งหลายบิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่

กุสินารสูตรที่ 1 จบ

2. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง

[125] ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :371 }