เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 10. โมเนยยสูตร

10. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี

[123] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี 3 ประการนี้
ความเป็นมุนี 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นมุนีทางกาย 2. ความเป็นมุนีทางวาจา
3. ความเป็นมุนีทางใจ
ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย
ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา
ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี 3 ประการนี้แล
ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ
เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง

โมเนยยสูตรที่ 10 จบ
อาปายิกวรรคที่ 2 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
3. กุสินารวรรค 1. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อาปายิกสูตร 2. ทุลลภสูตร
3. อัปปเมยยสูตร 4. อาเนญชสูตร
5. วิปัตติสัมปทาสูตร 6. อปัณณกสูตร
7. กัมมันตสูตร 8. ปฐมโสเจยยสูตร
9. ทุติยโสเจยยสูตร 10. โมเนยยสูตร

3. กุสินารวรรค
หมวดว่าด้วยกรุงกุสินารา
1. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา

[124] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าชื่อพลิหรณะ เขต
กรุง กุสินารา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลแห่งใดแห่ง
หนึ่งอยู่ คหบดีหรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุ
เมื่อประสงค์ก็รับนิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้
คหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น ถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉัน
ที่ประณีตด้วยมือตนเอง
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวายอาหาร
ให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” เธอยังมีความคิดอย่างนี้
อีกว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของ
เคี้ยวของฉันที่ประณีตอย่างนี้ด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :370 }