เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 9. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดกามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่มีในภายในว่า
“กามฉันทะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดกามฉันทะที่ไม่มีในภายในว่า “กามฉันทะ
ไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการ
ละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปของกามฉันทะที่ละได้แล้ว
รู้ชัดพยาบาท(ความคิดร้าย)ที่มีในภายในว่า “พยาบาทมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัด
พยาบาทที่ไม่มีในภายในก็รู้ชัดว่า “พยาบาทไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิด
ขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึง
การไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งพยาบาทที่ละได้แล้ว รู้ชัดถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
ที่มีในภายในว่า “ถีนมิทธะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดถีนมิทธะไม่มีในภายในว่า
“ถีนมิทธะไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขี้น รู้ชัด
ถึงการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งถีนมิทธะที่ละได้
แล้ว รู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ที่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
มีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะที่ไม่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่มีในภายใน” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่
ละได้แล้ว รู้ชัดวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีในภายในว่า “วิจิกิจฉามีในภายในของ
เรา” หรือรู้ชัดวิจิกิจฉาที่ไม่มีในภายในว่า “วิจิกิจฉาไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึง
การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด
ถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด 3 ประการนี้แล
ผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด
มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ
เป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว

ทุติยโสเจยยสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 10. โมเนยยสูตร

10. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี

[123] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี 3 ประการนี้
ความเป็นมุนี 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความเป็นมุนีทางกาย 2. ความเป็นมุนีทางวาจา
3. ความเป็นมุนีทางใจ
ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย
ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา
ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี 3 ประการนี้แล
ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ
เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง

โมเนยยสูตรที่ 10 จบ
อาปายิกวรรคที่ 2 จบ