เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 8. ปฐมโสเจยยสูตร

สัมปทา 3 ประการนี้
สัมปทา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กัมมันตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการงาน)
2. อาชีวสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอาชีพ)
3. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
กัมมันตสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้
เรียกว่า กัมมันตสัมปทา
อาชีวสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ
ชอบ) นี้เรียกว่า อาชีวสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้
แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า
ทิฏฐิสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3 ประการนี้แล

กัมมันตสูตรที่ 7 จบ

8. ปฐมโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ 1

[121] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด 3 ประการนี้
ความสะอาด 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความสะอาดกาย 2. ความสะอาดวาจา
3. ความสะอาดใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :366 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 9. ทุติยโสเจยยสูตร

ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา
ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้โลภมาก มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด 3 ประการนี้แล

ปฐมโสเจยยสูตรที่ 8 จบ

9. ทุติยโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ 2

[122] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด 3 ประการนี้
ความสะอาด 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความสะอาดกาย 2. ความสะอาดวาจา
3. ความสะอาดใจ
ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :367 }