เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
2. อาปายิกวรรค 5. วิปัตติสัมปทาสูตร

ความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่าง
อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อาเนญชสูตรที่ 4 จบ

5. วิปัตติสัมปทาสูตร
ว่าด้วยวิบัติ และสัมปทา

[118] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3 ประการนี้
วิบัติ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
2. จิตตวิบัติ (ความวิบัตแห่งจิต)
3. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
สีลวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ
จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า
จิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว
ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ
ชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :361 }