เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
1. สัมโพธวรรค 9. ปฐมนิทานสูตร

กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อโลภะ (ความไม่อยากได้) 2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
3. อโมหะ (ความไม่หลง)
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการนี้แล

ปฐมนิทานสูตรที่ 9 จบ


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
1. สัมโพธวรรค 10. ทุติยนิทานสูตร

10. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ 2

[113] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ฉันทะ1เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต
2. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต
3. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ
เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ ย่อม
เกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความกำหนัดแห่ง
ใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะใน
อดีต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ
กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ
ในอนาคต เป็นอย่างนี้แล
ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา
ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ