เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
1. สัมโพธวรรค 9. ปฐมนิทานสูตร

8. พยาปันนสูตร
ว่าด้วยจิตถึงความผิดปกติ

[111] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
คหบดี เมื่อจิตถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมถึงความผิดปกติ ย่อมมี
การตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ไม่ดี ยอดเรือน ไม้กลอน และฝาเรือนย่อมถึงความผิด
ปกติแม้ฉันใด เมื่อจิตถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ไม่ดี กาลกิริยาก็ไม่งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ แม้กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ไม่ถึง
ความผิดปกติ เขาผู้มีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมไม่ถึงความผิดปกติ ย่อม
มีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
เมื่อเรือนยอดมุงไว้ดี แม้ยอดเรือน ไม้กลอน ฝาเรือนก็ไม่ถึงความผิดปกติ
แม้ฉันใด
คหบดี เมื่อจิตไม่ถึงความผิดปกติ ฯลฯ ย่อมมีการตายที่ดี กาลกิริยาก็งาม
ฉันนั้นเหมือนกัน

พยาปันนสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ 1

[112] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. โลภะ (ความอยากได้) 2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :353 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [3. ตติยปัณณาสก์]
1. สัมโพธวรรค 9. ปฐมนิทานสูตร

กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็น
แดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์ กรรมนั้น
เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อโลภะ (ความไม่อยากได้) 2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
3. อโมหะ (ความไม่หลง)
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโลภะ เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโทสะ เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ มีอโทสะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
กรรมใดที่บุคคลทำด้วยอโมหะ เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะ
เป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรม
นั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเกิดกรรมอีก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) 3 ประการนี้แล

ปฐมนิทานสูตรที่ 9 จบ