เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 9. โลณผลสูตร

อนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้จะต้องกล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าว
กับเธออย่างนี้ว่า “ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นเถระจะกล่าวธรรมและ
วินัย”
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นเหมือนผ้า
แคว้นกาสี จักไม่เป็นเหมือนผ้าเปลือกไม้”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

โปตถกสูตรที่ 8 จบ

9. โลณผลสูตร
ว่าด้วยผลกรรมกับก้อนเกลือ

[101] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมไว้อย่างใด ๆ
เขาต้องเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อม
มีไม่ได้ โอกาสที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้
ว่า “บุคคลนี้ทำกรรมที่ต้องเสวยผลไว้อย่างใด ๆ เขาต้องเสวยผลของกรรมนั้น อย่าง
นั้น ๆ” เมื่อเป็นเช่นนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ โอกาสที่จะทำที่สุด
แห่งทุกข์โดยชอบย่อมปรากฏ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
บาปกรรมก็นำเขาไปสู่นรกได้ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย
เช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ 2
(ชาติหน้า)1 ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
บุคคลที่ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้ คือ
บุคคลเช่นไร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 9. โลณผลสูตร

คือ บุคคล1บางคนในโลกนี้ไม่เจริญกาย2 ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา มีคุณน้อย มีอัตภาพน้อย มักอยู่เป็นทุกข์เพราะผลกรรมเล็กน้อย บุคคล
เช่นนี้ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็นำเขาไปสู่นรกได้
บุคคลที่ทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น
ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยในอัตภาพที่ 2 ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก คือบุคคลเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เจริญกาย เจริญศีล เจริญจิต เจริญปัญญา3แล้ว
มีคุณไม่น้อย มีอัตภาพใหญ่4 เป็นอัปปมาณวิหารี5 บุคคลเช่นนี้ทำบาปกรรมเพียง
เล็กน้อยเช่นนั้นแล บาปกรรมนั้นให้ผลในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้ผลแม้แต่น้อยใน
อัตภาพที่ 2 ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลมาก
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษใส่ก้อนเกลือลงในขันใบน้อย เธอทั้งหลาย
เข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร น้ำในขันเล็กน้อยนั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่
หรือไม่
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะในขันน้ำมีน้ำนิดหน่อย น้ำนั้นจึงเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“บุคคลใส่ก้อนเกลือลงในแม่น้ำคงคา เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร แม่น้ำ
คงคานั้นเค็ม ดื่มกินไม่ได้เพราะก้อนเกลือโน้นใช่หรือไม่”