เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 4. ปริสาสูตร

3. สรทสูตร
ว่าด้วยธรรมจักษุกับท้องฟ้าในสารทกาล

[95] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆหมอกในสารทกาล1 ดวง
อาทิตย์ส่องแสงไปทั่วท้องฟ้า ขจัดความมืดมัวที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ส่องแสง แผด
แสงและส่องสว่างอยู่ ฉันใด
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อธรรมจักษุ2ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินเกิดแก่
อริยสาวก พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งทัสสนะ อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ 3 ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) และ
สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ลำดับต่อมา อริยสาวกออกจากธรรม 2 ประการ คือ อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา) และพยาบาท(ความคิดร้าย) อริยสาวกนั้นสงัดจากกามและอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอริยสาวกพึงตายลงในขณะนั้น เธอไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเหตุ
ให้ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก

สรทสูตรที่ 3 จบ

4. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท

[96] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท 3 จำพวกนี้
บริษัท 3 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม 2. บริษัทที่แตกแยกกัน
3. บริษัทที่สามัคคีกัน


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
5. โลณผลวรรค 4. ปริสาสูตร

บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุผู้เป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโอกกมนธรรม1 เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คน
รุ่นหลังต่างพากันตามอย่างภิกษุผู้เถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่มีหัวหน้ายอดเยี่ยม
บริษัทที่แตกแยกกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บริษัทที่แตกแยกกัน
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร
คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
ในสมัยใด พวกภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ในสมัยนั้น พวกภิกษุ
ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ในสมัยนั้น พวกภิกษุอยู่กันเหมือนพรหม คืออยู่กัน
ด้วยมุทิตาเจโตวิมุตติ ผู้มีความบันเทิงใจย่อมเกิดความอิ่มใจ กายของผู้มีความอิ่ม
ใจย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้
ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มเปี่ยมแล้วทำให้
หนองเต็ม หนองเต็มแล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อย
เต็มแล้วทำให้แม่น้ำใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม ฉันใด