เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 11. ปังกธาสูตร

สมัยนั้น ภิกษุชื่อกัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่ตำบลปังกธา ทราบมาว่า ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วย
สิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่
ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้
ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริก
ไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ภูเขา
คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์นั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความรำคาญ
เดือดร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราได้
ไม่ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยสิกขาบท ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’
จะเป็นการดี ถ้าเราจะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดย
ความเป็นโทษในสำนักพระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปทางกรุง
ราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล
ปังกธาของชาวโกศล ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์นั้นได้มีความขัดใจ
ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :321 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 11. ปังกธาสูตร

ปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์นั้นได้มีความรำคาญเดือดร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของ
เราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ ที่เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
เรากลับมีความขัดใจไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ จะเป็นการดี ถ้าเรา
จะพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนัก
พระผู้มีพระภาค’ โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคทรงชี้แจงให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบทอยู่
ข้าพระองค์ได้มีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับทราบโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ
เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย
ไม่ฉลาด เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจ
หาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ ได้เห็นโทษโดย
ความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ ก็การที่
บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป
นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา
เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา และไม่สรรเสริญ
คุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร เราไม่
สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึง
คบหาเธอโดยเห็นว่า “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน” ภิกษุพวกที่คบหา
เธอพึงพากันตามอย่างเธอ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :322 }