เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 9. ปฐมสิกขัตตยสูตร

หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือเมื่อยัง
ไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป และเพราะราคะ
โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ 3 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ 3 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล 2 หรือ 3 ตระกูล ก็จะ
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ 3
ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
อย่างมาก 7 ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้ทำได้เพียงบาง
ส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย

ตติยสิกขาสูตรที่ 8 จบ

9. ปฐมสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ 1

[90] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา 3 ประการนี้
สิกขา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :318 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 10. ทุติยสิกขัตยสูตร

อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา 3 ประการนี้แล

ปฐมสิกขัตตยสูตรที่ 9 จบ

10. ทุติยสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ 2

[91] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา 3 ประการนี้
สิกขา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา 3 ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :319 }