เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 5. เสกขสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท 150 ถ้วน1นี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา 3 คือ
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาหรือ”
ภิกษุวัชชีบุตรนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถ
ศึกษาในสิกขา 3 คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา 3 คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น
เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก

วัชชีปุตตสูตรที่ 4 จบ

5. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล

[86] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
4. สมณวรรค 6.ปฐมสิกขาสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า “เสขะ เสขะ” บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ที่เรียกว่า “เสขะ” เพราะยังต้องศึกษา
ศึกษาอะไร คือ ศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง
ภิกษุ ที่เรียกว่า เสขะ เพราะยังต้องศึกษาแล
ญาณ1ในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ
ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรง2ก่อน
ลำดับต่อจากนั้นอรหัตตผลจึงเกิด
ต่อจากนั้น ญาณ3ในความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์
ว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ”
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผล

เสกขสูตรที่ 5 จบ

6. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ 1

[87] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท 150 ถ้วนที่กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์
ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา 3
ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท 150 นั้นทั้งหมด
สิกขา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา 3 ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท 150 นั้นทั้งหมด