เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 9. คันธชาตสูตร

8. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลและวัตร

[79] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ศีลวัตร ชีวิต1 พรหมจรรย์ และการบำบวง2 มีผลทุกอย่างหรือ”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาเรื่องนี้ไม่พึงตอบ
โดยแง่เดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำแนก”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพ(รักษา)
ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
กลับเสื่อมไป ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงนั้นชื่อว่าไม่มีผล ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมกลับเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการ
บำบวงนั้นชื่อว่ามีผล”
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา” จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นพอท่านพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระ
ภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ
แต่ผู้ที่เสมอกับอานนท์ทางปัญญามิใช่หาได้ง่าย”

สีลัพพตสูตรที่ 8 จบ

9. คันธชาตสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม

[80] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 9. คันธชาตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอม 3 อย่าง ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไป
ทวนลมไม่ได้
กลิ่นหอม 3 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. กลิ่นที่เกิดจากราก 2. กลิ่นที่เกิดจากแก่น
3. กลิ่นที่เกิดจากดอก
กลิ่นหอม 3 อย่างนี้แล ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไปทวนลมไม่ได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปตามลม
และทวนลมก็ได้ มีอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป
ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ มีอยู่
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลม
ก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ในโลกนี้สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน
ตำบลใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศจากความตระหนี่
อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี
ในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน
สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือ
บุรุษในบ้านหรือในตำบลโน้นถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก
การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศ
จากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :304 }