เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 2. อาชีวกสูตร

คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ
คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดละ
ราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละ
โมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นดำเนินไปดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ
ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่าดำเนินไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวก
ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว’
เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก’ เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วเหมือนกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะ
ได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่า
ดำเนินไปดีแล้วในโลกแล”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านไม่ยกย่อง
ธรรมของตนเอง และไม่มีการรุกรานธรรมของผู้อื่น มีแต่แสดงธรรมตามเหตุผล
กล่าวแต่เนื้อความ และไม่ได้นำความเห็นของตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านแสดงธรรม
เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :294 }


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 3. มหานามสักกสูตร

อานนท์ผู้เจริญ ท่านปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านปฏิบัติดีแล้วในโลก
ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านละโทสะได้แล้ว
ฯลฯ ท่านละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านดำเนินไปดีแล้วในโลก
ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระคุณเจ้าอานนท์ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อาชีวกสูตรที่ 2 จบ

3. มหานามสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหานามศากยะ

[74] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากความอาพาธไม่นาน ครั้งนั้น
เจ้ามหานามศากยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล้วที่ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคแสดงอย่างนี้ว่า ญาณ(ความรู้) เกิดแก่ผู้มีใจเป็นสมาธิ ไม่เกิดแก่ผู้มีใจไม่
เป็นสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมาธิเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ญาณเกิด
ก่อน สมาธิเกิดทีหลัง”
ในขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคเพิ่งจะทรงหาย
จากความอาพาธได้ไม่นาน เจ้ามหานามศากยะนี้ทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระผู้มี
พระภาค ทางที่ดี เราควรนำเจ้ามหานามศากยะไปอีกที่หนึ่งแล้วแสดงธรรม(ให้ฟง)”ั

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :295 }