เมนู

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
2. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง
งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ 16
ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์

อุโปสถสูตรที่ 10 จบ
มหาวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ติตถายตนสูตร 2. ภยสูตร
3. เวนาคปุรสูตร 4. สรภสูตร
5. เกสปุตติสูตร 6. สาฬหสูตร
7. กถาวัตถุสูตร 8. อัญญติตถิยสูตร
9. อกสลมูลสูตร 10. อุโปสถสูตร


พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์]
3. อานันทวรรค 1. ฉันนสูตร

3. อานันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระอานนท์

1. ฉันนสูตร
ว่าด้วยฉันนปริพาชก

[72] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อฉันนะเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติ
การละราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และโมหะ(ความหลง)หรือ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ พวกเราเองบัญญัติการละราคะ โทสะ และโมหะ”
ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะอย่างไร จึง
บัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไรจึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษใน
โมหะอย่างไรจึงบัญญัติการละโมหะ”
พระอานนท์ตอบว่า บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
2 ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง 2 ฝ่าย
ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายบ้าง เมื่อละ
ราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 20 หน้า :291 }